แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

ลักษณะการบาดเจ็บจากการเล่นวอลเลย์บอล
1.ฟกซ้ำ เกิดจากการกระทบกระแทกโดยของที่ไม่มีคม ทำให้มีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ หรือลงไปถึงชั้นเยื่อหุ้มกระดูกระยะแรกเมื่อเลือดยังไม่ซึมออกมากอาจไม่พบว่ามีการเปลี่ยนสีของผิวหนังหรือบวมขึ้น แต่การปฏิบัติในทันทีที่เห็นมีการกระแทกรุนแรงจะช่วยไม่ให้มีการฟกซ้ำเกิดขึ้นมากได้
การปฐมพยาบาล ใช้ของเย็นประคบบริเวณที่ถูกกระแทก อย่าเพิ่งถูนวดถ้าเป็นบริเวณที่ติดกับกระดูก เช่น หน้าแข้ง หนังศรีษะ อาจใช้ผ้าพันให้แน่น หลัง 24 ชั่วโมง แล้วจึงใช้ของร้อนและถูนวดเบาๆได้เพื่อให้เลือดที่คั่งกระจายและดูดซึมกลับได้เร็ว ปัจจุบันมียาเป็นครีมหลายชนิดที่ช่วยให้ฟกซ้ำยุบหายได้เร็วขึ้น แต่ควรต้องขอคำแนะนำการใช้จากแพทย์
2.กล้ามเนื้อฉีก เกิดจากการยืดตัวมากเกินไปของกล้ามเนื้อเพราะออกแรงเกินกำลังทำให้มีการขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อมากน้อยแล้วแต่ความรุนแรง อาการคือ เจ็บปวดบริเวณที่มีการฉีกขาดระยะแรกอาจพบมีรอยบุ๋มลงไปเนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนต้นและปลายของอันที่ขาด หดตัวกลับบริเวณนั้นจะเจ็บมากและไม่สามารถจะใช้กล้ามเนื้อนั้นได้
การปฐมพยาบาล ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าทีพักกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้มากที่สุดถ้ามีพลาสเตอร์ก็ใช้ติดจากส่วนบนของกล้ามเนื้อมายังส่วนล่างหลายๆชิ้น การใช้ของเย็นประคบใน 24 ชั่วโมงแรกจะช่วยไม่ให้มีเลือดออกมาในกล้ามเนื้อหลังจากนั้นต้องพักการใช้กล้ามเนื้อนั้นจนไม่มีความเจ็บปวดอีก
3.ข้อเคลื่อนหลุด เกิดจาการที่หัวกระดูกหลุดออกจากที่เคยอยู่ อาจเนื่องจากเยื่อหุ้มข้อขาดหรือถูกยืดมากเกินไปอาการส่วนมากพอเห็นได้ คือ มีรูปข้อผิดไป เคลื่อนไหวไม่ได้ ปวดมาก อาจมีบวม ขนาดของส่วนที่หลุดอาจเห็นได้ว่ายาวหรือสั้นกว่าเดิม
การปฐมพยาบาล หากเคยพบและจัดให้เข้าที่ได้ให้ทำทันที เพราะถ้ารอไว้จะปวดมากและทำยาก เพราะกล้ามเนื้อตึง แต่ถ้าไม่เคยทำหรือไม่แน่ใจ ให้ยึดส่วนที่หลุดไว้ในท่าที่เจ็บน้อยที่สุด พยายามอย่าให้มีการเคลื่อนไหวแล้วนำไปส่งแพทย์อย่างระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายถ้าเป็นระยะทางไกลอาจใช้ยาแก้ปวด และใช้น้ำแข็งประคบเพื่อให้เจ็บปวดน้อยลง
4.กระดูกหัก เป็นเรื่องที่ต้องส่งให้แพทย์ การปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายทำแบบเดียวกับข้อหลุด แต่ถ้ามีกระดูกหักทิ่มออกมานอกเนื้อต้องระวังเป็นพิเศษที่บริเวณแผลอย่าให้ถูกต้องของสกปรก ถ้ามีเลือดออกมากต้องรีบห้ามเลือดก่อนโดยใช้ชะเนาะรัดเหนือบริเวณที่มีเลือดออก